ยกระดับคุณภาพอาชีวศึกษาแบบใช้พื้นที่เป็นฐาน

‘สอศ.’ ปักหมุดขับเคลื่อนยกระดับคุณภาพอาชีวศึกษา

นายมณฑล ภาคสุวรรณ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.)เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้ดำเนินการขับเคลื่อนในการยกระดับคุณภาพอาชีวศึกษาแบบองค์รวมโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน Holistic and Area based Vocational Education (HAVE) ตามนโยบายรัฐมตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในการพัฒนายกระดับคุณภาพสถานศึกษา

โดยมีความมุ่งหวังเพื่อยกระดับการจัดการอาชีวศึกษาอย่างมีคุณภาพ ตอบโจทย์ความต้องการของพื้นที่ ด้วยการบูรณาการงานร่วมกันระหว่างสถานศึกษาอาชีวศึกษารัฐและเอกชน สถานประกอบการ และหน่วยงานทุกภาคส่วนในพื้นที่โดยเบื้องต้นเริ่มที่จังหวัดสระแก้ว เป็นแห่งแรก ซึ่งขณะนี้สอศ. ได้ดำเนินการคัดเลือก 5 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ จ.สระแก้ว จ.ลพบุรี จ.นครศรีธรรมราช จ.ร้อยเอ็ด และจ.กำแพงเพชร เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม

นายมณฑล กล่าวต่อไปว่า สอศ. ต้องการเห็นพื้นที่ได้นำสิ่งที่มีอยู่ ที่เป็นจุดแข็ง และโอกาส มาดำเนินการร่วมกันในพื้นที่จังหวัด ที่สามารถทำได้เป็นการระเบิดจากข้างใน ภาพความสำเร็จที่คาดหวังจับภาพใหญ่ที่ สอศ.อยากเห็น ก็คือความเข้มแข็งในพื้นที่และการขับเคลื่อนการผลิตกำลังคน ในทุกจังหวัด โดยมีอาชีวศึกษาจังหวัด เป็นฐาน และกลไกในการดำเนินงาน

ซึ่งสอศ.ได้มีข้อเสนอเชิงนโยบายในแนวทางพัฒนาในพื้นที่ ในการบูรณาการร่วมกันบริหารจัดการอย่างเป็นเครือข่าย (Networking) ในการวางแผน รวมทั้งการกำกับติดตาม การพัฒนาฐานข้อมูล demand/supply (Big Data-IT) การบริหารทรัพยากร (sharing reources) การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาผู้เรียน การยกระดับสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ Excellence ทั้งในระดับมาตรฐาน และExpert การพัฒนาระบบเครือข่าย ความร่วมมือ และการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี การบริการชุมชน การพัฒนาครู และผู้เรียน เป็นต้น

ยกระดับคุณภาพอาชีวศึกษาแบบใช้พื้นที่เป็นฐาน

ด้านนายประชา ฤทธิผล ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช และประธานอาชีวศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช มีสถานศึกษาอาชีวศึกษาทั้งหมด 24 แห่ง ประกอบด้วยอาชีวศึกษารัฐ 11 แห่ง อาชีวศึกษาเอกชน 13 แห่ง ซึ่งในการประชุมในครั้งนี้ อาชีวศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้นำข้อเสนอเชิงนโนบายแนวทางอาชีวศึกษาจังหวัดแบบองค์รวมโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน จัดกลุ่มเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่ม 1. การบริหารจัดการ บริหารอศจ. (การทำงานร่วมกัน ใน วิทยาลัย 24 แห่ง) กลไก บทบาท หน้าที่แผนพัฒนาอาชีวจังหวัด แนวทางวิธีการทำแผน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย Big Data (Demand Supply) การทำฐานข้อมูล ความต้องการของสถานประกอบการ หน่วยงานอื่นๆ และเครือข่ายและความร่วมมือ การทำความร่วมมือกับสถานประกอบการ การฝึกอาชีพ

กลุ่ม 2. มาตรฐานและหลักสูตร สะท้อนความต้องการของพื้นที่หลักสูตรระยะสั้น Up-skill Re-skill New-skill และหลักสูตรปกติ การยกระดับสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ การตั้งศูนย์ทดสอบในสถานศึกษา และสถานศึกษาเฉพาะทาง

กลุ่ม 3. การพัฒนาครู ความต้องการอบรม การดำเนินการศูนย์บ่มเพาะการใช้–การแชร์ทรัพยการทางการศึกษาร่วมกัน การยกระดับอาชีวศึกษาทวิภาคีทั้งเชิงปริมาณ และคุณภาพและวิธีการจัดการอาชีวศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย PLC / Block course / Credit Bank และ

กลุ่ม 4. นักเรียน ในการพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านทักษะวิชาการ วิชาชีพ และคุณธรรม เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนวทาง และกิจกรรมในพื้นที่ที่จะดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ dondarrockphotography.com

UFA Slot

Releated