น.ส.ตรีนุช เทียนทอง

รมว.ศธ. แนะครูสอนประวัติศาสตร์รูปแบบใหม่ งดท่องจำ

น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวตอนในการเป็นประธานเปิดการสัมมนาวิชาการ “การสอนวิชาประวัติศาสตร์ไทยสำหรับการศึกษาในศตวรรษที่ 21″ซึ่งดำเนินการร่วมกันระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาพื้นฐาน (สพฐ.) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร และศูนย์ภูมิภาคโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ SPAFA วันที่ 18 มกราคม ที่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ

โดยมี นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) คณะวิทยากร คณะทำงาน คณะครู และศึกษานิเทศก์เข้าร่วม ว่า ศธ.และรัฐบาล

โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์เป็นอย่างมาก พร้อมมีนโยบายและจุดเน้นการพัฒนาวิชาประวัติศาสตร์ โดยให้มีการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ ให้มีความทันสมัย น่าสนใจ เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ควบคู่กับการเสริมสร้างวิถีความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง

“การเรียนการสอนประวัติศาสตร์ในปัจจุบันต้องไม่เป็นการเรียนแบบท่องจำ แต่ต้องส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เพื่อทำความเข้าใจกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในแง่มุมต่าง ๆ ให้ความสำคัญทั้งประวัติศาสตร์ชาติและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อให้เด็กและเยาวชน ได้รู้ที่มา รากเหง้า และตัวตนของเรา ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นทุนทางสังคม วัฒนธรรม และภูมิปัญญาที่มีคุณค่าของประเทศไทย มองว่าการเรียนประวัติศาสตร์เหมือนกับเราได้มาเรียนรู้ตัวเอง เรียนรู้สิ่งรอบตัวของเราทั้ง 360 องศา ดิฉันคิดว่า เรามีของดีอยู่แล้ว แต่จะทำอย่างไรที่จะสอนประวัติศาสตร์ให้เด็กซึมซับ และฝังในจิตวิญญาณของเด็กได้จริงๆ” น.ส.ตรีนุช กล่าว

รมว.ศธ. แนะครูสอนประวัติศาสตร์รูปแบบใหม่ งดท่องจำ

งคุณค่าของไทย ที่เป็นซอฟต์พาวเวอร์ไปต่อยอดได้ โดยในปี 2566 นี้ จะเป็นปีแห่งการก้าวไปข้างหน้าร่วมกันของทุกภาคส่วนในการพัฒนาเด็กและเยาวชน ผ่านการเรียนรู้ประวัติศาสตร์มิติใหม่

ด้วยการดำเนินการส่งเสริมผู้เรียน ให้ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่มีความหมายกับชีวิต ให้ทุกคนตระหนักว่า ทุกเรื่องราว ผู้คน เหตุการณ์ สถานที่ มีที่มาที่ไป เหตุในอดีตส่งผล สู่ปัจจุบัน และเป็นปัจจัยสู่อนาคต, ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่เน้นทักษะกระบวนการคิด พัฒนาคุณลักษณะสำคัญแบบนักประวัติศาสตร์

เน้นให้เรียนรู้จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ทั้งทางโบราณคดีและมานุษยวิทยา มากกว่าการท่องจำ ,ส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ที่หลากหลาย ,ส่งเสริมให้พัฒนาสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับช่วงวัย ให้เรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา และส่งเสริมให้บูรณาการความรู้ ร่วมกับศาสตร์แขนงอื่นๆ นำทักษะความรู้ที่ได้ จากการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ไปสร้างมูลค่า เกิดเป็นงานอาชีพ เพิ่มพูนคุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว และชุมชนให้ดีขึ้นได้

“ครูผู้สอนเป็นหัวใจและกลไกสำคัญในการเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ ครูต้องเป็นผู้เปิดกว้างทางความคิดในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ค้นคว้า และศึกษาอย่างต่อเนื่อง ต้องรู้ความสนใจของผู้เรียน พัฒนาสอนที่หลากหลายให้นักเรียนได้รับความรู้ ความเข้าใจ ประวัติศาสตร์ชาติและท้องถิ่น สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ เข้าใจบทเรียนที่เกิดขึ้นในอดีต เพื่อต่อยอดความสำเร็จ และลดข้อผิดพลาดในอนาคต อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ ว่า สิ่งที่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงควบคู่กับการพัฒนาสื่อ วิธีการเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงวิธีการวัดและการประเมินผล ต้องไม่เน้นการประเมินแบบเลือกคำตอบ แต่ควรประเมินกระบวนการสอบ กระบวนการคิดวิเคราะห์ และการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่มากขึ้น” น.ส.ตรีนุช กล่าว

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ dondarrockphotography.com

แทงบอล

Releated